วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีเกมส์ (Game Based Learning)

ทฤษฎีเกม เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตัดสินใจในสถานการณ์หนึ่งๆโดยมีเงื่อนไขที่ผูกอยู่กับการตัดสินใจของผู้อื่นที่ร่วมเล่นเกมอยู่ด้วย ผู้ที่บุกเบิกทฤษฎีนี้ คือจอน ฟอนน์ นิวแมน และ ออสการ์ มอร์เกินสเติร์น ในปี 1944และ ได้ถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดดอีกครั้งในอีก 50 ปีต่อมา โดย จอห์น เอฟ แนชซึ่งเรื่องของ ศ. จอห์น แนช นี้ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วย ชื่อ A Beautiful Mind นำแสดงโดย รัสเซลล์ โครว์


อันที่จริงแล้ว ลักษณะสถานการณ์ของทฤษฎีเกม เป็นสิ่งที่เราเจอะเจออยู่เป็นประจำแทบทุกวัน เพียงแต่อาจจะไม่ได้คิดแจกแจงออกมาเป็นระบบในรูปแบบที่จะเอื้อให้เราตัดสินใจได้ดีที่สุดในสภาพการณ์นั้นๆ เรามาเริ่มตั้งแต่พื้นฐานกันก่อนเลยนะครับ เป็นตัวอย่างสุดคลาสสิคของทฤษฎีเกม ที่ชื่อว่า ความลำบากใจของนักโทษ (Prisoner’sDilemma) สถานการณ์มีอยู่ว่า ตำรวจจับผู้ต้องหาได้ 2 คน คือ นาย ก. และ นาย ข. ผู้ต้องหาสองนายนี้ถูกจับแยกไปสอบปากคำเพื่อไม่ให้ได้ยินคำตอบของอีกคนหนึ่ง ทางเลือกของแต่ละคน คือ 1.ไม่รับสารภาพ 2. รับสารภาพว่ากระทำผิดร่วมกัน กรณีและผลลัพธ์ทีเกิดขึ้น คือ

1.ถ้าทั้งสองไม่รับสารภาพ ทางตำรวจจะไม่มีหลักฐานและตั้งข้อหาได้เพียง

เล็กน้อยคือ จำคุกคนละ 1 ปี

2. หากคนใดคนหนึ่งรับสารภาพและอีกคนไม่รับสารภาพ คนที่รับสารภาพจะ

ไม่ต้องรับโทษและถูกกันตัวเป็นพยาน ส่วนคนที่ไม่รับจะโดนโทษจำคุก 10ปี

3. หากทั้งคู่รับสารภาพ ศาลจะลดโทษให้ครึ่งหนึ่งเหลือจำคุกคนละ 5 ปี

ผลกระทบของการติดเกมต่อเด็ก

เกมคอมพิวเตอร์มีทั้งผลดีและผลเสียต่อเด็กขึ้นอยู่กับเกมและเวลาที่ใช้ในการเล่น ผลเสียนั้นจะมีผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


- ด้านการเรียน เด็กจะไม่ไปโรงเรียนหรือไปโรงเรียนสายเพราะเอาเวลาไปเล่นเกม ซึ่งเป็นผลทำให้มีผลการเรียนตกต่ำ ไม่ยอมทำการบ้าน ไม่อ่านหนังสือ ไม่มีสมาธิในการเรียน สมองเฉื่อย สุดท้ายส่งผลให้เด็กเรียนไม่จบ

- ด้านสุขภาพร่างกาย เด็กจะทรุดโทรม ซูบผอม ซึ่งเกิดจากอุปนิสัยการบริโภคอาหารเปลี่ยนไป ชอบอดมื้อกินมื้อ ส่งผลให้เกิดการปวดท้อง ในบางรายจะเกิดโรคอ้วนเพราะไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายหรือออกกำลังกาย การเข้านอนและการตื่นผิดปกติ มักจะปล่อยปละละเลยเรื่องอนามัยและการรักษาความสะอาด นอกจากนั้นอาจจะทำให้เด็กมีปัญหาด้านสายตา ลูกตาก็จะแห้งและล้าเพราะแสงจ้าจากที่ต้องจ้องจอคอมพิวเตอร์ มีอาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดเมื่อยข้อมือ การรับรู้สึกที่มือถูกสะเทือน เพราะเส้นประสาทจากข้อมือไปยังมือถูกกดเป็นเวลานานจากการนั่งเล่นเกมติดต่อกันเป็นระยะเวลานานการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ยังทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยมีผลการศึกษาจากต่างประเทศที่พบว่า การตอบสนองของหัวใจและหลอดเลือดต่อการเล่นเกม สามารถทำนายความดันโลหิตและการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ ในร่างกายของเด็กติดเกมจะมีการกระตุ้นของสารโดปามีน ซึ่งออกฤทธิ์ กระตุ้นระบบประสาทอีกต่อหนึ่ง ทำให้เด็กสนุกเกินความพอดี มีแรงมากเหมือนใช้ยาบ้า ทำให้เด็กเกิดอาการโหยหาการเล่นเกมตลอดเวลา

- ด้านสุขภาพจิต ทำให้โอกาสที่จะสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นน้อยลง กลายเป็นคน

แปลกแยก ไม่มีสังคมเพราะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเล่นเกม ทำให้เด็กอาจมีพฤติกรรมกลัวสังคมได้ ซึ่งจะมีอาการปิดตัวไม่สุงสิงกับใครเก็บตัวอยู่ในห้องเพียงลำพัง เล่นเกมทั้งวันไม่หลับไม่นอน ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของเด็ก การที่เด็กเล่นเกมที่รุนแรงมากและใช้เวลาในการเล่นติดต่อกันต่อครั้งนานเกินไปทำให้เกิดผลเสียทางด้านอารมณ์ เด็กจะก้าวร้าวรุนแรง ชอบเอาชนะ โมโหร้าย ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการเลียนแบบจากเกมโดยเฉพาะพวกเกมการต่อสู้ นอกจากนั้นยังจะทำให้เด็กมี

พฤติกรรมดื้อ ต่อต้าน และหดหู่ ซึมเศร้าหากไม่ได้เล่นเกม

- ด้านพฤติกรรม เกิดปัญหาเด็กโกหก ลักขโมย ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เกิดปัญหาภายในครอบครัว เพราะเด็กจะติดเกมจนไม่เชื่อฟังผู้ปกครอง หรือเด็กอาจขโมยหรือหลอกเอาเงินจากผู้ปกครองไปเล่นเกม ทำให้ขาดความสัมพันธ์ในครอบครัว ไม่มีเวลาให้กัน ขาดความเข้าใจ โกรธใส่กัน

พฤติกรรมเด็กติดเกมส์

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนมีหลายเรื่องที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ปวดเศียรเวียนเกล้ามาก หนึ่งในนั้นคือ เด็กติดเกม ที่ขยายความรุนแรงไปทั่วประเทศ หลายครอบครัวพยายามแก้ไขด้วยสารพัดวิธี สารพัดรูปแบบ...แก้ไขไม่ได้ เพราะเรื่องของ"เด็กติดเกม " ต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายและต่อเนื่องด้วย


อย่างไรที่เรียกว่าเด็กติดเกม

การพูดว่า"เด็กติดเกม " ของคนในสังคมทั่วไป กับ "เด็กติดเกม " ทางการแพทย์ ไม่เท่ากันพ่อแม่ผู้ปกครอง เห็นลูกหลานตัวเองเล่นเกมอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรืออยู่หน้าโทรทัศน์นานสักหน่อย ก็เรียกว่า "ติดเกม " แล้ว แต่เป็นการติดทางใจทางการแพทย์พูดถึงการติด คือการติดที่มีอาการทางกาย เพราะว่าร่างกายพึ่งพาสารบางอย่างจากภายนอก เช่น สารเสพติด (ยาบ้า เฮโรอีน) หรือสารที่หลั่งภายในร่างกายเราเองแต่เกิดจากการกระตุ้นจากภายนอก เช่น การเล่นการพนัน การเล่นเกม เป็นต้น

หากมองเรื่องการติดเกม อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 ชอบ

ชอบ... ไม่ใช่ติด

ทุกคนมีความชอบได้ แต่ต้องไม่เสียการควบคุมตนเอง บางคนชอบร้องเพลง บางคนชอบอ่านหนังสือวรรณกรรมเยาวชน ขณะที่บางคนชอบเล่นกีฬา ความชอบเหล่านั้นทำให้เจ้าตัวมีความสุข แต่ทำกิจกรรมอื่นๆ ได้อีก ซึ่งมีหลายทางเลือก

ระดับที่ 2 คลั่งไคล้

หมกมุ่น... คลั่งไคล้ เริ่มไม่ทำกิจกรรมอื่น

คนที่คลั่งไคล้ จะเริ่มคุมตัวเองไม่ได้ เช่น วันนี้ตั้งใจจะไม่เล่นเกม พยายามบอกตัวเองว่างดเล่น 1 วัน แต่อดใจไม่ได้คุมตัวเองไม่ได้ สุดท้ายก็เล่นเหมือนเดิมการคลั่งไคล้ยังไม่ถึงขั้นติด แต่เสียการควบคุมตนเอง

ระดับที่ ๓ การติด

ติดหรือไม่... เส้นแบ่งอยู่ที่การเสียการทำหน้าที่

ทุกคนมี " หน้าที่ " ของตัวเอง เด็กมีหน้าที่หลักคือการเรียนหนังสือ อ่านหนังสือ และใช้เงินทองให้เหมาะสมพฤติกรรมของเด็กที่เสียการทำหน้าที่ เช่น ไม่อ่านหนังสือ โดดเรียน ใช้เงินหมดไปกับการเล่นเกม โกหก ซึ่งเป็นผลพวงจากการเล่นเกมอาการหรือพฤติกรรมเหล่านี้ขึ้นกับความรุนแรง ดังนั้นจึงวัดกันที่เสียการทำหน้าที่

อาการเด็กติดเกม

อาการของเด็กติดเกมโดยทั่วไปสังเกตได้จากเริ่มเสียการทำหน้าที่ รวมถึงทำกิจกรรมอย่างอื่นน้อยลง เช่น เคยดูโทรทัศน์ เริ่มไม่ดู ไม่สนใจโทรทัศน์เล่นกีฬาฟุตบอล เล่นน้อยลง หรือเลิกไปเลยเล่นเกมจนลืมเวลา ไม่กินข้าว ไม่นอน รุ่งขึ้นเช้าไปโรงเรียนไม่ไหวใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับเกม จนกระทั่งหนี

เรียนเพื่อไปเล่นเกมอย่างเดียวไม่รับผิดชอบงานบ้านที่ตนเองมีหน้าที่จะต้องทำอารมณ์และจิตใจเปลี่ยนไป จนถึงขั้นพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครองไม่รู้เรื่องการติดเกมแตกต่างจากการติดเชื้อโรคของร่างกายเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เข้าสู่ร่างกายคนเราปุ๊บเป็นโรคทันที แต่การติดเกมเป็นเรื่องระดับความรุนแรงของ

อาการการติดเกมเป็นโรคหรือไม่


การติดเกมเต็มรูปแบบถือว่าเป็นโรค (ซึ่งเหมือนกับการติดสารเสพติดทั้งหลาย เช่น บุหรี่ สุรา ยาบ้า กัญชา เฮโรอีน)เปรียบคล้ายกับคนติดสารเสพติดพยายามแสวงหามาเสพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เด็กติดเกมก็พยายามแสวงหาการเล่นเกม และต้องเล่นยาวนานมากขึ้น ถ้าไม่ได้เล่นก็จะหงุดหงิด และลงเอยที่การเสีย

การทำหน้าที่โรคติดเกมเป็นโรคที่ต้องปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายละเอียดหลักสูตร หลักสูตรโปรแกรมคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (2ปีหลัง)

โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ
แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

Bachelor of Business Administration Program in Business Computer

ชื่อ ปริญญา ชื่อเต็ม : ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

Bachelor of Business Administration (Business Computer)

ชื่อย่อ : บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)

B.B.A. (Business Computer)

จุดประสงค์เฉพาะ

1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional) ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้านต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ

4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพ จริยธรรม และปัญญาธรรม

โครงสร้างหลักสูตร

มีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้

1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
1500103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน 3(3-0)

(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2500101 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน 3(3-0)
2000101 สุนทรียภาพของชีวิต 3(3-0)

(3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
2500103 วิถีโลก 3(3-0)และ/หรือ
2500104 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3(3-0)

(4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
4000102 การคิดและการตัดสินใจ 3(2-2)และ/หรือ
4000108 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(2-2)


2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน (แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) 49 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1 บังคับเรียน 24 หน่วยกิต
1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
3504101 จริยธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2 4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)

1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 1 3(2-2)
4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)
4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2)
4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)

ข้อกำหนดเฉพาะ

1) ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏแล้วให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจตาม 1.2 แทน

2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้
3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1 3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1
3521101 การบัญชี 1 3521102 การบัญชี 2
4112105 สถิติธุรกิจ 3531101 การเงินธุรกิจ
3541101 หลักการตลาด
ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน

(2) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ
บังคับเรียน 9 หน่วยกิต
3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)

ข้อกำหนดเฉพาะ

1) ผู้ที่เรียนแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) ต้องผ่านการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา 3561101 องค์การและการจัดการ และ 3532202 การภาษีอากรธุรกิจ ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์กาสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
4) กรณีที่เคยเรียนรายวิชาบังคับของกลุ่มวิทยาการจัดการมาแล้วในระดับอนุปริญญา ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำหนดไว้ใน 1.2 แทน

(3) กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 2(90)
3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 3(210)

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้

รวมลิ้งค์ต่างๆ

http://www.google.co.th/   ค้นหาข้อมูล
http://www.freetvonline.com/   ดูทีวีออนไลน์
http://www.tucows.com/  โหลดโปรแกรมต่างๆ
http://www.teenee.com/ ทันทุกเรื่องฮิต อัพเดชทุกเรื่องฮอต
http://www.ocpb.go.th/list_law.asp สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ศธ.พัฒนาไอซีทีในโรงเรียน

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติเงินโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ระยะที่ 2 (SP2) 5,177 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งมี 3 โครงการหลัก ได้แก่ 1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไอซีที 3,697 ล้านบาท 2.การพัฒนาบุคลากรสำหรับการบริหารจัดการเครือข่าย 70 ล้านบาท และ 3.การพัฒนาระบบโทรทัศน์ครู (Teacher TV) 1,410 ล้านบาท อย่างไรก็ตามขณะนี้มีการเบิกจ่ายแล้ว 70 เปอร์เซ็นต์

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า โครงการพัฒนาเครือข่าย UniNet มีเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไอซีที (ปี 2553-2555) ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 202 แห่ง สถาบันการอาชีวศึกษาของรัฐ 415 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 185 แห่ง โรงเรียนดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 2,000 แห่ง ห้องสมุดประชาชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) 151 แห่ง โรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) 143 แห่ง รวม 3,096 แห่ง




ที่มา ข่าวสดออนไลน์ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการสร้างBlog

1. เข้าที่หน้าแรกของ bloggang ใส่ชื่อและระหัสเพื่อ login
2. เข้าที่จัดการแก้ไข
3. เริ่มต้นต้องเข้าไปที่ จัดการ Group Blog
4. เข้าไปเพิ่มกลุ่มบล็อก
เราจะสร้างกลุ่มบล็อกทีละกลุ่มเอาไว้เก็บบล็อกต่างๆที่อยู่ในหมวกหมู่เดียวกันหรือจะสร้างทีละกลุ่มก็ได้
  1. เขียนชื่อกลุ่มบล็อกที่จะสร้าง
  2. ถ้าต้องการให้ทุกคนอ่านได้หมดก็เลือก public
  3. เลือกกลุ่มย่อย
  4.ทำครบทุกอย่างแล้วจึงกด สร้างกลุ่มบล็อก
  5. เข้าไปที่เมนูซ้ายมือ กดที่ จัดการ Blog
6. เมื่อสร้างกลุ่ม blog แล้วจะเข้ามาที่หน้าแสดงกลุ่ม blog กดที่ เขียน blog ใหม่
7. ให้ใส่รายละเอียด เรื่องราวต่างๆ ตั้งแต่ background, รูป, เพลง, และรายละเอียดอื่นๆ ลงในช่องนี้
ดูการใส่รายละเอียดได้ตามหัวข้อในเมนูขวามือสำหรับมือใหม่ถ้ายังใส่ไม่เป็น ก็ยังไม่ต้องใส่รายละเอียดอื่นๆ ให้ข้ามไปทำข้อ 8 ก่อน แล้วมาหัดใส่รายละเอียดทีหลังก็ได้ (โดยการแก้ไขบล็อก)